1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้วัดบวรนิเวศวิหารหล่อพระรูปสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร หลังครบรอบ 2 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์
2. ในสมัยสมเด็จพระญาณสังวร ทรงพระเยาว์ มักเล่นเป็นพระ หรือชอบการประกอบพิธีทางศาสนา เช่น เล่นก่อถ้ำก่อเจดีย์ เล่นทอดผ้าทอดกฐิน ทำของเล่นเกี่ยวกับพระ เช่น ทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆ ทำตาลปัตรจากใบไม้ (วีดีโอเผยแพร่ของสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช)
ซ้อมใหญ่ริ้วขบวนพระอิสริยยศในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ "สมเด็จพระสังฆราช"
3.สมเด็จพระญาณสังวร เคยทรงฉายพระรูปกับพระโกศทองน้อย ซึ่งทรงพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์ที่ 10 เมื่อปี 2501 หรือ 57 ปีที่แล้ว สำหรับพระโกศทองน้อย จะพระราชทานสำหรับทรงพระศพเจ้านาย ในลำดับชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
4.สมเด็จพระสังฆราชฯ เคยฉายพระรูปกับพระโกศทองน้อย สมเด็จพระวชิรญาณวโรรส เมื่อปี 2501 (57 ปีที่แล้ว) ในการนี้ สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศจากพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศทองน้อย
5.สมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมีพระชาติกำเนิดจากสามัญชน ตามพระเกียรตินั้น จะได้รับพระราชทานพระโกศ ที่เรียกว่า พระโกศกุดั่นน้อย ในกรณี สมเด็จพระญาณสังวร นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานเลื่อนชั้นจากพระโกศกุดั่นน้อยขึ้นเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่
ตั้งแต่สิ้นพระชนม์ และพระราชทานเลื่อนชั้นขึ้นอีก เป็นพระโกศทองน้อย ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ที่เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร เป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่มิใช่พระบรมวงศ์ ได้รับพระ ราชทานพระอิสริยยศเป็นกรณีพิเศษ เท่ากับพระราชทานพระอิสริยยศเสมอสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
6. ขบวนพระอิสริยยศและพระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ยาว 480 เมตร
7.พระโกศทองน้อย ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้างโปรดกระหม่อมให้พระราชทานทรงพระศพสมเด็จพระญาณสังวรจะประดับฉัตรตาดทอง 5 ชั้น แขวนเหนือพระโกศ เพื่อแสดงถึงพระเกียรติยศ
8.ขบวนพระอิสริยยศเชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระญาณสังวรฯ จากวัดบวรนิเวศวิหารที่ประดิษฐาน ไปยังพระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส มีความยาว 480 เมตร
ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ 1.แต่งกายไว้ทุกข์หรือชุดเครื่องแบบไว้ทุกข์ ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม เพื่อถวายอภิสัมมานะสักการะฯ 2. หากมารอชมขบวนพระอิสริยยศเชิญพระโกศพระศพฯ ริมสองฝั่งถนน เพื่อการส่งเสด็จให้พนมมือไว้และกราบ 3 ครั้ง แบบเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อพระโกศพระศพฯ เคลื่อนผ่าน 3. หากไม่ได้มาร่วมในพระราชพิธีฯ
9.วิธีที่จะร่วมส่งเสด็จที่ดี คือ น้อมนำคำสอนไปยึดถือปฏิบัติ 4. ประชาชนจะได้รับแจก “หนังสือบวรธรรมบพิตร” หนังสือที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้ที่จุดวางดอกไม้จันทน์ 48 วัด 46 เขตในกรุงเทพมหานคร ส่วนต่างจังหวัด รับได้ที่ อำเภอที่จัดจุดวางดอกไม้จันทน์ 877 แห่ง
10. หากร่วมเฝ้าส่งเสด็จสองฝั่งถนน ให้พนมมือไหว้ และกราบ 3 ครั้ง แบบเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อพระโกศพระศพฯ เคลื่อนผ่าน
สุดท้ายหากไม่ได้มาร่วมส่งเสด็จในพระราชพิธี วิธีที่จะร่วมส่งเสด็จ สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ดีคือ น้อมนำคำสอนของสมเด็จพระสังฆราชฯ ไปปฏิบัติบูชาก็สามารถปฎิบัติได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น