.
Breaking News
recent

ทำไมอเมริกาถึงพิมพ์ดอลล่าได้เอง ต้องอ่าน



ทำไมอเมริกาถึงพิมพ์ดอลล่าได้เอง


เรื่องในตอนนี้ผมจับเนื้อหามาจาก กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นะครับ

อย่างที่อ่านกันไปในตอนที่ 1-3 นายมูกาเบ้ เคยทำยังไงเอาไว้ บุช, โอบาม่าก็กำลังดำเนินรอยตามแบบนั้นเช่นกันครับ หากยังไม่หักดิบเปลี่ยนนโยบาย เส้นทางที่สหรัฐอเมริกากำลังเดินไปจุดหมายคือ Hyperinflation อย่างแน่นอน

ไม่สำคัญว่า จะเป็น ซิมบับเวียน ดอลลล่าร์ห์ หรือ US ดอลลล่าร์ห์
เมื่อกระทำ“เหตุ” อย่างเดียวกัน ก็ย่อม ให้ “ผล” ที่ไม่ต่างกัน.

ในตอนที่เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลายๆ คนหลายๆ สำนักวิเคราะห์กันว่าปัญหาของซับไพรมหรือหนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ แต่อันที่จริงสาเหตุเศรษฐกิจขาลงทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐยังไม่ใช่สาเหตุหลักของหายนะของค่าเงินดอลลาร์ และจุดเริ่มความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจอเมริกันในทศวรรษหน้า

สาเหตุที่แท้จริงคือ การซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกกำลังจะเปลี่ยนไปใช้เงินตราสกุลอื่น เช่น ยูโรหรือเยน ที่เกิดจากการผลักดันของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา และล่าสุดในการประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปก (OPEC) ครั้งที่ 146 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่เมืองอาบูดาบี ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ผ่านมานี้ อิหร่านได้กระโดดเข้ามาผลักดันแนวคิดนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้ตั้งธนาคารโอเปกขึ้นมา และให้เลิกซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกด้วยเงินดอลลาร์

ทำไมการเลิกใช้เงินดอลลาร์เป็นการคุกคามเศรษฐกิจอเมริกา

ปีที่แล้วอเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) $811 พันล้านเหรียญ - 8.11 ล้านล้านเหรียญ หรือ 6% ของจีดีพี ตัวเลขนี้ คือ รายจ่ายที่มากกว่ารายรับ

การที่อเมริกาเป็นประเทศเดียวที่สามารถ ขาดดุลชำระเงินและขาดดุลการค้าได้มากขนาดนี้ หรือ เรียกว่า “การขึ้นรถฟรี (free rider)” ก็เพราะได้ใช้อิทธิพลทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศโอเปกเมื่อปี 1971ให้การซื้อขายน้ำมันโลกใช้เงินดอลลาร์เพียงสกุลเดียว

ข้อตกลงนี้ทำให้ทุกประเทศที่บริโภคน้ำมัน ต้องสะสมเงินดอลลาร์เพื่อใช้ในการซื้อน้ำมันเข้าประเทศ และการซื้อขายน้ำมันโลกร้อยละ 85 ซื้อขายกันนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และหมุนเวียนกันอยู่ภายนอกอเมริกา

ยกตัวอย่างสมมติว่าไทยอยากได้ดอลลล่าร์มาเก็บไว้ ก็เอาข้าวไปให้อเมริกา อเมริกาก็เอาเงินดอลลล่าร์มาให้ไทย เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน บังคลาเทศอยากได้ดอลลล่าร์ ก็เอาเครื่องนุ่งห่มไปให้อเมริกาเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน


ดังนั้นเงินที่ดอลลล่าร์ที่พิมพ์ออกมานี้ก็คือเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าหรือจ่ายหนี้ให้ประเทศที่อเมริกานำเข้าสินค้านั่นเอง มาตรฐานชีวิตคนอเมริกัน จึงสูงที่สุดในโลก เพราะพิมพ์เงินออกมาซื้อฟรี กินฟรีสินค้าจาก ทั่วโลก หรือลงทุนในประเทศอื่นๆเพื่อหากำไร ส่งกลับเข้าประเทศ ประเทศที่ขายสินค้าให้ อเมริกาก็นำเงินดอลลาร์มาเป็นเงินสำรอง หรือนำมาไว้ใช้ซื้อน้ำมันมาบริโภค และเพื่อนำเข้ามาผลิตสินค้าไว้ขายอเมริกาต่อไปเป็นวงจรไป

หรือไม่ก็นำมาซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอเมริกัน (U.S. Treasury Bonds) ซึ่งก็คือ นำเงินที่ขายสินค้าได้ดุลมาให้อเมริกาที่เป็นผู้บริโภคกู้เพื่อนำมาซื้อสินค้ากลับไปกินไปใช้ใหม่ (recycle)


ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางสหรัฐจึงสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาได้อย่างไม่จำกัด (ตามข้อตกลงของไอเอ็มเอฟ โดยที่ไม่ต้องมีทองคำมาสำรองตามจำนวนที่พิมพ์ออกมา) และไม่ต้องหวั่นว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นภายในประเทศ

ตัวเลขในปี 2007 จีน ถือพันธบัตรอเมริกันไว้ทั้งสิ้น 396.7 พันล้านเหรียญ หรือเกือบๆ 4 แสนล้านเหรียญ ส่วนญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ที่สุดของอเมริกา คือ 582.2 พันล้านเหรียญ หรือเกือบ 6 แสนล้านเหรียญ

ประเทศผู้ขายน้ำมันก็นำเงินดอลลาร์มาขาย ในตลาดเงิน - Foreign Exchange Markets (Forex) เช่น ที่ลอนดอน หรือนิวยอร์ก สิงคโปร์ ให้ประเทศที่ต้องการบริโภคน้ำมันซื้อไปเพื่อใช้ซื้อน้ำมันต่อไป

เงินดอลลาร์จึงหมุนเวียนอยู่ภายนอกอเมริกาเป็นเช่นนี้มาหลายสิบปีติดต่อกันมา

แต่วงจรนี้กำลังจะถูกทำให้สะดุด และอเมริกาจะยอมไม่ได้ เพราะว่าถ้าปล่อยให้มันเกิดขึ้น หนี้สินจำนวน 8.11 ล้านล้านเหรียญที่อเมริกาเป็นหนี้ชาวโลก ก็ต้องหามาจ่าย และอเมริกาก็ไม่มีเงินนี้จ่าย นอกจากจะต้องขายทรัพย์สิน หรือบริษัทไปสักครึ่งประเทศ

ประธานาธิบดีซัดดัมแห่งอิรักบังอาจท้าทาย ความเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของอเมริกา โดยขายน้ำมันของตน ด้วยเงินยูโรแทนดอลลาร์ ในปี 2000 และเปลี่ยนเงินสำรองประเทศของตนเป็นยูโรด้วย ทำให้หลายๆ ประเทศ ที่ซื้อน้ำมัน จากอิรักต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

ความต้องการ (demand) ดอลลาร์ในตลาดโลกจึงทยอยลดลง ในปี 2002 เงินดอลลาร์ มีค่าลดลงร้อยละ 18 พอถึงปี 2003 อเมริกา จึงบุกอิรัก โดยอ้างว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ (อิหร่าน อาจจะโดนเช่นเดียวกัน) จากนั้นก็เปลี่ยนการ ซื้อขายน้ำมันของอิรักจากเงินยูโรกลับมาเป็น เงินดอลลาร์ใหม่

อิหร่านเริ่มยุติการซื้อขายน้ำมันของตนจากเงินดอลลาร์มาเป็นเงินยูโรแทนเมื่อปี 2003 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ค่าเงินดอลลาร์ก็ลดลงแล้วถึงร้อยละ 30 ในวันนี้ ตามหลักความต้องการซื้อ (demand) และความต้องการขาย (supply) เมื่อความต้องการซื้อลดลง ราคาของสิ่งนั้นก็ลดตามด้วย

การแก้เกมของอเมริกาคือ การปั่นราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้นเพื่อสร้างความต้องการซื้อดอลลาร์ให้อยู่ในระดับเดิม ทุกวันนี้ราคาน้ำมันจึงพุ่งทะยานขึ้นเกือบแตะ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว

ถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผล อเมริกาอาจจะตัดสินใจ โจมตีอิหร่านเหมือนเช่นที่ทำกับอิรักด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้ยุทธวิธี “โจมตีก่อนแล้วพิสูจน์ทีหลัง” (pre-emptive strike )

อย่างไรก็ตามอิหร่านเป็นประเทศใหญ่กว่าอิรักมาก มีประชากรมากกว่า ถ้าอเมริกาโจมตี และเข้ายึดครอง ก็อาจจะเป็นสงครามยืดเยื้อกว่าสงครามอิรัก และอาจจะต้องลงทุนด้วยชีวิต ทหารอเมริกันมากกว่าอิรักอีกหลายเท่า

คนอเมริกันจำนวนมากจึงไม่เห็นด้วย รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ รัฐบาล และสื่อมวลชน ดังนั้นจึงมีรายงานวิจัย เผยแพร่ออกมาว่าอิหร่านได้ยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาแล้วตั้งแต่ปี 2003 เพื่อป้องกัน ไม่ให้ประธานาธิบดีบุชโจมตีอิหร่านเสียก่อน แล้วพิสูจน์ทีหลัง

ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ก็ยุติการขาย น้ำมันของตนด้วยเงินดอลลาร์ไปแล้ว แต่ขายเป็นเงินยูโรแทน ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่ากลับมามีอิทธิพลในตลาดเงินโลกเหมือนเดิมจึงมีโอกาสน้อย หรือเป็นไป ไม่ได้เลย

สถานการณ์ข้างต้นเป็นสัญญาณขาลงของอภิมหาอำนาจที่ครองความเป็นเจ้ามาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี ซึ่งสั้นกว่ายุคล่าอาณานิคมที่ยาวนานเป็นร้อยปี

ผมย้อนกลับไปข้อความข้างต้นที่ผมจั่วหัวไว้ครับว่า “ไม่สำคัญว่า จะเป็น ซิมบับเวียนดอลลล่าร์ หรือ US ดอลลล่าร์ เมื่อกระทำ“เหตุ” อย่างเดียวกัน ก็ย่อม ให้ “ผล” ที่ไม่ต่างกัน” ครับ

จากเหตุการณ์ที่เล่ามา ย่อมส่งผลถึงประเทศที่ยึดเอาเงินดอลลาร์เป็นพ่อหรือพระเจ้าโดยไม่ยอมเปลี่ยนเงินสำรองของชาติ ไปเป็นเงินสกุลอื่น และทำให้เราพอมองออกว่าทำไมอเมริกาถึงต้องหาเรื่องซัดดัมแห่งอิรัก ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย และกำลังโจมตีอิหร่านในข้อหามีอาวุธนิวเคลียร์


ปล. เป็นบทความเก่าๆหลายปีมาแล้วครับ ใครเป็นศัตรูของพญาอินทรีย์ ท้ายที่สุดคืออาชญากรโลก ตามที่ฮอลิวูดร่วมกันครอบงำโลกมาเป็นเวลานาน

ที่มา : http://pantip.com/topic/30689869
Charanton

Charanton

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Business

Design

ขับเคลื่อนโดย Blogger.